ถ้าลูกของคุณบอกว่าเขากำลังถูกรังแก หรือคุณสงสัยว่าลูกอาจถูกรังแกที่โรงเรียน พ่อแม่จะทำอะไรได้บ้าง?

  • บันทึกเหตุการณ์ถูกรังแกที่ลูกเล่าให้ฟังไว้ จดชื่อเด็กที่เกี่ยวข้อง วันที่เกิดเหตุ และรายละเอียดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สามารถนำมาอ้างอิงได้เมื่อจำเป็น
  • ขอพบครูประจำชั้นของลูกทันที และอธิบายความห่วงใยหรือไม่สบายใจด้วยท่าทางที่เป็นมิตร หลีกเลี่ยงการกล่าวโทษหรือตำหนิกัน
  • ถามครูว่าได้สังเกตเห็นเหตุการณ์อะไรบ้าง
  • ถามว่าครูได้ทราบถึงหรือสงสัยว่ามีการรังแกกันเกิดขึ้นบ้างหรือไม่
  • ถามว่าลูกของคุณเข้ากับนักเรียนคนอื่นในห้องได้หรือไม่
  • ถามว่าครูได้สังเกตเห็นว่าลูกของคุณถูกเพิกเฉยจากเพื่อนๆหรือถูกปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยวบ้างหรือไม่ เช่น ไม่ได้ไปเล่นในสนามโรงเรียน หรือร่วมกิจกรรมที่นักเรียนคนอื่นๆทำด้วยกัน
  • ถามครูว่ามีความตั้งใจที่จะสืบสวนหรือช่วยยุติการรังแกหรือไม่อย่างไร
  • ถ้าคุณกังวลหรือไม่แน่ใจว่าลูก จะรับมือกับความเครียดที่เกิดจากการถูกรังแกได้อย่างไร ให้ขอพบครูแนะแนวหรือที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตของโรงเรียน
  • นัดพบครูอีกครั้ง (เช่นอาทิตย์ถัดไป) เพื่อติดตามความคืบหน้า
  • หากไม่มีอะไรดีขึ้นหลังจากที่ได้รายงานการรังแกกันให้ครูทราบ ให้ขอพบครูใหญ่อีก
  • จดบันทึกรายละเอียดต่างๆทุกครั้งเมื่อพูดคุยกับครูและบุคลากรของโรงเรียน
  • ครูและพ่อแม่ผู้ปกครองควรระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ตำหนิ 'ผู้ที่ถูกรังแก' การรังแกกันไม่ใช่ 'ความผิด' ของผู้ถูกรังแก เขาจึงไม่ควรที่จะรู้สึกผิดที่ตัวเองถูกรังแก
  • ให้เวลากับทางโรงเรียนเพื่อสืบสวนจากทั้งสองฝ่าย บางครั้งเด็กผู้รังแกอาจกล่าวหาเท็จ ถึงเด็กคนอื่นๆ ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการรังแก ครูจึงไม่ควรรีบด่วนสรุปและเชื่อคำกล่าวหาโดยไม่ได้ศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่แท้จริงก่อน อย่างไรก็ตามขั้นตอนทั้งหมดนี้ ไม่ควรใช้เวลาเกินสองสามวัน
  • หากการรังแกยังไม่ยุติ ให้ทำจดหมายถึงครูใหญ่ หรือผู้อำนวยการโรงเรียนโดยแนบบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่คุณได้รวบรวมไว้ด้วย  การเขียนจดหมายร้องเรียนเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ว่าคุณมีความห่วงใยในเรื่องนี้และคุณได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง
  • หากผู้อำนวยการไม่สามารถหรือไม่แสดงเจตนาว่าจะช่วยแก้ไขปัญหา ให้เขียนจดหมายถึงผู้มีอำนาจหน้าที่ด้านการศึกษาในระดับสูงขึ้นไป เช่น ผู้อำนวยการเขตการศึกษาของโรงเรียนเพื่อร้องเรียนเป็นลำดับต่อไปอีก
  • คุณจะต้องอดทนและไม่ยอมแพ้ คุณอาจต้องร้องเรียนเรื่องการถูกรังแกของลูกคุณไปเรื่อยๆ จนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พอใจของคุณ
  • ควรดึงตำรวจเข้ามาเกี่ยวข้องหากลูกของคุณถูกทำร้ายร่างกายถึงขั้นบาดเจ็บ หรือถูกขู่ว่าจะทำร้ายอย่างรุนแรงอีก โดยเฉพาะนักเรียนในระดับมัธยมหรือวัยรุ่น ซึ่งบางครั้งมีการทำร้ายกันรุนแรงถึงพิการหรือถึงชีวิตได้
  • หากปัญหายังไม่ยุติหรือรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และบุคลากรของโรงเรียนไม่สามารถหยุดการรังแกได้ 86Iอาจต้องปรึกษาทนายความ
  • ขอให้ทางโรงเรียนบันทึกเหตุการณ์การรังแกลูกของท่านเป็นลายลักษณ์อักษร หากตำรวจต้องการข้อมูลเมื่อจำเป็นต้องมีการสืบสวนข้อเท็จจริงต่อไปก็จะได้มีไว้ให้ได้

อินโฟกราฟิกโดย มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

โทรศัพท์ 0-2412-0739  www.thaichildrights.org

ข้อมูล: คู่มือรับสถานการณ์เด็กรังแกกันในโรงเรียน สำหรับพ่อแม่ที่ลูกถูกรังแก : ขอคุยกับครู…เมื่อลูกถูกรังแก  ผู้เรียบเรียง  ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา

 

ดาวน์โหลดเอกสารฟรี

    (* สำคัญต้องกรอก)

    440