แนวทางการรายงานข่าวเด็กที่ถูกกระทำ
'เด็กที่ถูกกระทำ' หมายถึง เด็กที่ต้องได้รับความคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจ การล่วงละเมิดทางเพศ การค้ามนุษย์ การขายและการลักพาเด็ก รวมถึงการแสวงประโยชน์กับเด็กในทุกรูปแบบ (UNICEF:2020)
ผลกระทบเมื่อเด็กที่ถูกกระทำเป็นข่าวบนสื่อสังคมออนไลน์
- เด็กได้รับความช่วยเหลือเร็ว ได้รับการปกป้อง
- กระแสสังคมทำให้ลงโทษผิดคน
- เด็ก / ครอบครัว กลายเป็นฝ่ายผิด ถูกซ้ำเติมจากสังคม ใช้ชีวิตปกติไม่ได้
- เด็กไม่กล้าขอความช่วยเหลือ
- เด็กเกิดบาดแผลในใจ Trauma ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย
- เด็กลดคุณค่าตัวเอง กระทบต่อชีวิตในอนาคต
- กระทบต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ เช่น คนร้ายหลบหนี ทำลายเบาะแสด ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง
DOs / ข้อควรปฏิบัติ
ด้านอัตลักษณ์ :
-ปกปิดตัวตนของเด็กและคนใกล้ชิด โดยใช้นามสมมติที่ไม่เชื่อมโยงถึงตัวเด็ก
-ใช้คำเรียกผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิดที่ไม่เชื่อมโยงถึงตัวเด็ก เช่น เรียกว่า พ่อ แม่ ครู คนร้าย ฯลฯ โดยไม่ระบุชื่อ-นามสกุล
ด้านภาพ :
-นำเสนอภาพวาด ภาพการ์ตูน ปกปิดตัวตนของเด็ก หรือใช้คำบรรยายแทนภาพเด็ก
-กรณีเด็กเสียชีวิตอาจเผยแพร่ภาพหน้าตรงขณะมีชีวิตได้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เด็กและครอบครัว หรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
ด้านเนื้อหา :
-นำเสนอรายละเอียด ข้อเท็จจริง หรือพฤติกรรมเฉพาะที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเด็ก ไม่ละเมิดสิทธิหรือสร้างความเสียหายแก่เด็กและครอบครัว
ด้านการใช้คำ :
-ระมัดระวังการใช้ภาษา คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน จิตใจ ชื่อเสียงเกียรติคุณของเด็กและครอบครัว
ด้านอื่นๆ:
-สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลเด็ก นักจิตวิทยา แทนการสัมภาษณ์เด็ก
-ประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการให้ข้อมูล เบาะแสโดยเน้นให้ความช่วยเหลือเด็กก่อนเป็นข่าวหรือเผยแพร่เรื่องราวสู่สาธารณะ
DON'Ts / ไม่ควรปฏิบัติ
ด้านอัตลักษณ์ :
–*เผยแพร่ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ที่เรียน ที่ทำงาน เสียง ฯลฯ ของเด็ก ผู้ปกครอง หรือคนร้ายที่ทำให้ล่วงรู้ถึงตัวเด็ก ยกเว้นกรณีเด็กสูญหาย แต่ต้องไม่ส่งผลเสียต่อเด็ก
ด้านภาพ :
–*เผยแพร่ภาพหรือคลิปที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่เด็ก ครอบครัว ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวและภาพหรือคลิปของเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงภาพใดๆที่จะทำให้รู้ถึงตัวเด็กได้
–**เผยแพร่ภาพหรือคลิปเกี่ยวกับเด็กที่ลามก อนาจาร โป๊เปลือย อุจาด สื่อถึงเรื่องเพศ
ด้านเนื้อหา:
–*เผยแพร่ข้อมูลที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่เด็ก ครอบครัว หรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
-เผยแพร่เรื่องราวที่ซ้ำเติมความทุกข์ของเด็ก และครอบครัว
-นำเสนอข่าวหรือเรื่องราวโดยใส่ความคิดเห็นส่วนตัว ตัดสินตัวเด็กและครอบครัวในเชิงลบ หรือนำเสนอเกินกว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
ด้านการใช้คำ :
ใช้คำบรรยายที่รุนแรงกระทบกระเทือนจิตใจ เช่น ถูกสอดใส่อวัยวะเพศ ถูกข่มขืน เป็นต้น
ด้านอื่นๆ : สัมภาษณ์เด็กโดยตรง
*จำคุก 6 เดือน ปรับ 60,000 บาท
**จำคุก 5 ปี ปรับ 100,000 บาท
ที่มาข้อมูล : คู่มือการรายงานข่าวสิทธิเด็ก บนสื่อออนไลน์