อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก มุ่งคุ้มครองเด็กทุกคน ให้ปลอดภัย พ้นจากอันตราย สนับสนุนการเติบโต พัฒนาการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในสังคม โดยเฉพาะจากบุคคลที่อยู่แวดล้อมเด็ก ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ประชาชนทั่วไป และ หน่วยงานภาคส่วนต่างๆ สามารถมีส่วนร่วมสนับสนุนสิทธิเด็ก ได้ดังนี้

ครอบครัว

  • มีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย ทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญา ด้านสังคม
  • ส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการให้เด็กเจริญเติบโตตามวัยและเป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำในการเลี้ยงดูเด็ก และดูแลเรื่องปลอดภัยของเด็ก
  • ยอมรับว่าเด็กเป็นสมาชิกผู้หนึ่งของครอบครัว สร้างความรัก ความผูกพันที่มั่นคง และสร้างความไว้วางใจให้กับเด็ก
  • ให้การตอบสนองทางอารมณ์ของเด็กด้านต่างๆ เช่น ไม่ให้เด็กทุกข์เกินวัย ขจัดปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์ ฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์และรู้จักขอความช่วยเหลือ
  • รับฟัง ให้โอกาส สนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกความรู้สึก ความคิดเห็น และมีส่วนร่วมตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตน
  • ยอมรับ เชื่อใจในตัวเด็กแบบที่เด็กเป็น
  • สร้างบรรยากาศของครอบครัวที่มีความรักและความผาสุก

โรงเรียน

  • คุณครู ดูแลให้ความรู้ ออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคลอดกับวัยและพัฒนาการของเด็ก
  • ไม่แบ่งแยกเด็ก ไม่เลือกปฏิบัติต่อเด็ก และให้ความสำคัญแก่เด็กทุกคนเท่าเทียมกัน
  • เข้าใจความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
  • สนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วม รับฟังเสียงของเด็ก
  • ยอมรับ ให้โอกาส สนับสนุน
  • คอยดูแลปัญหาของเด็กไม่ใช้ความรุนแรง และใช้วินัยเชิงบวก

ผู้ใหญ่ในชุมชน

  • ดูแล เฝ้าระวังความปลอดภัย ช่วยกันปกป้องคุ้มครองเด็กที่อยู่ในชุมชน เมื่อพบเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือประสานขอความช่วยเหลือส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ช่วยปิดกั้นภัยที่จะเข้าถึงตัวเด็ก เช่น ภัยออนไลน์ ยาเสพติด ทำร้าย รังแก เป็นต้น
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาเด็กและครอบครัวในชุมชน

บุคคลในสังคม

  • ไม่นิ่งเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิเด็ก
  • ร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี และปลอดภัยให้กับเด็ก

 

ผู้ใหญ่มีหน้าที่ทำให้เด็กได้รับสิทธิเหล่านี้ และปกป้องคุ้มครองเด็ก เพื่อให้เด็กได้เติบโตอย่างอยู่ดีมีสุขและปลอดภัย

ดาวน์โหลดเอกสารฟรี

    (* สำคัญต้องกรอก)

    22