การลงโทษทางร่างกาย ครอบคลุมถึงการลงโทษทางร่างกายทุกประเภท รวมทั้งการตบ ตี หยิก ดึง บิด และตีด้วยวัตถุ รวมถึงการบังคับให้เด็กกินสารที่ไม่พึงประสงค์ เช่น สบู่ ซอสเผ็ด หรือพริกขี้หนู ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งที่บ้าน  โรงเรียน

งานวิจัยจำนวนมากแสดงความเชื่อมโยงระหว่างการลงโทษทางร่างกายกับผลลัพธ์เชิงลบที่หลากหลายต่อเด็ก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว:

-การทำร้ายร่างกายโดยตรง บางครั้งทำให้เกิดความเสียหายรุนแรง ทุพพลภาพระยะยาวหรือเสียชีวิต

-ทำลายความสัมพันธ์เด็กกับพ่อแม่หรือผู้ดูแล ความไว้วางใจ ความมั่นคง และความปลอดภัย เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการจัดการพฤติกรรมของตนเอง แต่การลงโทษทางร่างกายทำลายความสัมพันธ์นั้น

-ความเจ็บป่วยทางจิต รวมถึงความผิดปกติของพฤติกรรมและความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ความสิ้นหวัง ความนับถือตนเองต่ำ การทำร้ายตนเองและการพยายามฆ่าตัวตาย การติดแอลกอฮอล์และยาเสพติด และความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ซึ่งดำเนินต่อไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

-ความบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม โดยเฉพาะการควบคุมอารมณ์และทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

-ความเสียหายต่อการศึกษา รวมถึงการเลิกเรียนกลางคันและความสำเร็จทางวิชาการและอาชีพที่ลดลง

-เพิ่มความก้าวร้าวในเด็ก

-การก่อพฤติกรรมรุนแรง ต่อต้านสังคม และอาชญากรของผู้ใหญ่

-ทำร้ายร่างกายทางอ้อม เนื่องจากระบบชีวภาพทำงานมากเกินไป รวมถึงการพัฒนาของมะเร็ง ปัญหาเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ไมเกรน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคข้ออักเสบ และโรคอ้วนที่ดำเนินต่อไปในวัยผู้ใหญ่

-เพิ่มการยอมรับและการใช้ความรุนแรงในรูปแบบอื่นๆ และความสัมพันธ์ในครอบครัวเสียหาย

การลงโทษทางร่างกายและอันตรายที่เกี่ยวข้องสามารถป้องกันได้ผ่านแนวทางหลายภาคส่วนและหลายแง่มุม เช่น

  • การปฏิรูปกฎหมาย การดำเนินการและบังคับใช้กฎหมายเพื่อห้ามการลงโทษทางร่างกาย
  • การเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานที่เป็นอันตรายเกี่ยวกับการเลี้ยงดูและการลงโทษเด็ก
  • การสนับสนุนผู้ปกครองและผู้ดูแล ให้ข้อมูลความรู้และการสร้างทักษะเพื่อพัฒนาการอบรมเลี้ยงดูแบบไม่ใช้ความรุนแรง
  • การทำโปรแกรมลดความรุนแรงในโรงเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศเชิงบวกในโรงเรียนและสภาพแวดล้อมที่ปราศจากความรุนแรง และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ครู และผู้บริหาร
  • ให้บริการตอบสนองและสนับสนุนการดูแลเหยื่อที่เป็นเด็กและครอบครัว เพื่อช่วยลดการทำผิดวินัยหรือการใช้ความรุนแรงซ้ำอีกและลดผลที่ตามมา

แหล่งที่มาข้อมูล : https://www.who.int และ https://www.verywellfamily.com/

ดาวน์โหลดเอกสารฟรี

    (* สำคัญต้องกรอก)

    738