เพราะความรุนแรงส่งผลกระทบต่อเด็กในระยะยาว ก่อให้เกิดความเครียด สะสมเป็นปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต การเสริมปัจจัยป้องกัน เพื่อให้เด็กมีเสมือนภูมิต้านทานความเครียดและความรุนแรง ควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยวิธีการเลี้ยงดูที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ก่อให้เกิดความสุข การพัฒนาที่เหมาะสมตามวัยของเด็ก เป็นสิ่งสำคัญที่ทำได้ตั้งแต่ในระดับครอบครัว โรงเรียน และสังคม  ปัจจัยเหล่านี้มีผลช่วยเหลือให้เด็กมีความต้านทานที่ดีต่อความเครียดต่างๆ ในชีวิต

ปัจจัยในตัวเด็ก 

  • เด็กบางคนมีต้นทุนที่ดี เช่น มีความฉลาด ความสามารถมองอะไรต่างๆได้เข้าใจ ทั้งในแง่ความคิดและอารมณ์
  • เด็กเติบโตมาในครอบครัวที่มีการตอบสนองทางอารมณ์ด้านบวก ช่วยให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
  • ได้รับการเลี้ยงดูที่ใส่ใจ มีความsensitive ต่อความต้องการพื้นฐานของเด็ก
  • ตอบสนองเด็กได้อย่างเหมาะสมด้วยวิธีที่นุ่มนวลไม่ใช้ความรุนแรง

ปัจจัยในครอบครัว

  • พ่อแม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
  • ให้คำแนะนำเชิงบวก ฝึกวินัยเชิงบวก
  • ตอบสนองทางอารมณ์ให้เด็กมีความสุข
  • บรรยากาศของครอบครัว ไม่ใช้ความรุนแรง
  • มีความรัก ความอบอุ่น แสดงความผูกพันต่อกันในครอบครัว

ปัจจัยในโรงเรียน และสังคม

  • โรงเรียนปลอดภัย ปราศจากวิธีการใช้ความรุนแรงไม่ว่าจากเด็กด้วยกันเองหรือจากผู้ใหญ่ในโรงเรียนต่อเด็ก
  • โรงเรียนมีการสอนวิธีการแก้ปัญหาเชิงบวกให้กับเด็ก การใช้วิธีสื่อสาร พูดคุย รับรู้ความรู้สึก แสดงความเห็นอกเห็นใจ
  • มีการให้คำแนะนำหรือพื้นที่ให้พ่อแม่ ได้เข้าไปเรียนรู้ทั้งในแง่ความรู้และฝึกปฏิบัติทักษะเพื่อเอาไปใช้ในการดูแลเด็ก
  • มีสื่อให้ข้อมูลแพร่ขยายความรู้จากการวิจัย การให้คำแนะนำ การอธิบายที่มาที่ไปอย่างกระจ่างให้กับพ่อแม่เข้าใจถึงผลกระทบของความรุนแรงที่เกิดกับเด็กในระยะยาว
  • สังคมที่ไม่มีตัวอย่างของการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
  • ใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยวิธีการลดความรุนแรงทางอารมณ์ และการใช้วิธีรุนแรงทางกาย แต่ใช้วิธีในการมีเหตุผล พูดคุยกัน
  • สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยให้เด็ก
  • มีกฎหมายที่กำหนดขอบเขตข้อไม่ควรปฏิบัติ ปฏิเสธไม่ยอมรับการใช้ความรุนแรงกับเด็กอย่างจริงจัง

สิ่งสำคัญ ผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมเด็ก ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงทางกาย ลดการตีเด็ก เพื่อพัฒนาเด็กของเรา ให้กลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข มีสุขภาพจิตที่ดีในอนาคต

ข้อมูล :  ถอดจากบทสัมภาษณ์ อาจารย์แพทย์หญิงปริชวัน จันทร์ศิริ  หัวหน้าหน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดาวน์โหลดเอกสารฟรี

    (* สำคัญต้องกรอก)

    245