เมื่อเด็กๆถูกกระทำความรุนแรง มีบุคคลจากหลายภาคส่วนที่จะเข้ามาช่วยเหลือให้เด็กได้รับความปลอดภัย ได้รับการบำบัดฟื้นฟูเยียวยา ได้รับการส่งเสริมพัฒนา จนสามารถกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในสังคมต่อไปได้ เราไปดูกันค่ะว่า มีใครบ้าง

เริ่มต้นที่…

  • เด็ก มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เมื่อมีเหตุความรุนแรงเกิดขึ้น ให้เด็กบอกกับผู้ใหญ่ทันที เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ
  • ผู้ปกครอง มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็ก คุ้มครองดูแลความปลอดภัย เมื่อเกิดเหตุรุนแรงกับเด็ก ผู้ปกครองต้องแจ้งเหตุเพื่อให้เด็กได้รับการช่วยเหลือ
  • ครู มีหน้าที่ดูแลเด็กที่เป็นศิษย์ เมื่อครูพบเหตุเกิดขึ้นกับเด็ก ต้องรายงานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฯ เพื่อให้เด็กได้รับการช่วยเหลือ
  • ทีมสหวิชาชีพ คือ กลุ่มบุคคลที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน มาทำงานช่วยเหลือคุ้มครองเด็กร่วมกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก
  • พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 คือ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำเนินการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงหรือถูกทารุณกรรม
  • กุมารแพทย์/แพทย์นิติเวช/จิตแพทย์ ฯลฯ  มีหน้าที่ตรวจประเมินวินิจฉัย รักษา และทำงานร่วมกับสหวิชาชีพในการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก
  • นักสังคมสงเคราะห์ มีหน้าที่ช่วยเหลือเด็กด้านสังคมสงเคราะห์ และเป็นผู้ถามปากคำเด็กในกระบวนการยุติธรรม ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เด็กและครอบครัวเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ
  • นักจิตวิทยา มีหน้าที่ ประเมิน บำบัดฟื้นฟู และเยียวยาทางด้านจิตใจให้เด็ก และเป็นผู้ถามปากคำเด็กในกระบวนการยุติธรรม
  • นักกฎหมาย มีหน้าที่ช่วยเหลือเด็กด้านกฎหมายและเตรียมความพร้อมเด็กในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • พนักงานสอบสวน มีหน้าที่ สอบสวนดำเนินคดี และจับกุม ผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย เพื่อให้เด็กได้รับความปลอดภัย
  • ผู้พิพากษา  มีหน้าที่ควบคุมดูแลการพิจารณาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นผู้ตัดสินว่าจำเลยนั้นกระทำความผิดกฎหมายจริงหรือไม่
  • พนักงานอัยการ มีหน้าที่ ร่วมสอบปากคำเด็ก พิจารณาสำนวนสั่งฟ้องศาล และเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับผู้พิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดอย่างไรบ้าง
  • กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มีหน้าที่ช่วยเหลือเยียวยาค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญาฯ และคุ้มครองพยาน

“การคุ้มครองเด็ก เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน”

เมื่อพบเห็นเหตุหรือสงสัยว่าเด็กจะถูกกระทำด้วยความรุนแรง ไม่นิ่งเฉย ให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทันที โทร.1300  บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด หรือ มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

ดาวน์โหลดเอกสารฟรี

    (* สำคัญต้องกรอก)

    3,421