ครูภูมิใจนะ
#ครูภูมิใจนะ "ป้าปู ป้าปูพาหนูไปเดินเล่นด้วยน้า" เมื่อเช้าก่อนออกจากบ้านมาทำงานข้างนอก เด็ก ๆ ร้องกันระงมเลยว่าให้พาไปชมนกชมไม้ก่อน เริ่มติดใจและคุ้นชินกับการเดินและชื่นชมธรรมชาติกันแล้วล่ะซีเด็กน้อย พอเดินกลับมาทุกคนต่างรู้หน้าที่ อาบน้ำ ช่วยงานบ้านและเอาเสื้อผ้ากับเครื่องนอนไปซักก่อนที่จะเริ่มเรียนออนไลน์กัน เราช่วยเด็กน้อยหยิบจับเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนใหญ่เด็กลงมือซักเองจัดการเอง นั่งมองดูแล้วเอ็นดูเด็กเหลือเกิน จำได้ว่าตอนเรายังเด็กอายุเท่านี้ยังวิ่งเล่นสนุกสนาน ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลยซักอย่าง
โพสต์รูปลูกลงโซเชียล แบบไม่ละเมิดสิทธิเด็ก
เรื่องการโพสต์รูปหรือเรื่องราวของลูกบนโซเชียล ที่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันในขณะนี้ สำหรับผู้เขียนคิดว่านับเป็นเรื่องดีที่มีตัวอย่างของพ่อแม่ที่ตระหนักและใส่ใจต่อเรื่องสิทธิของเด็ก และทำหน้าที่ปกป้องสิทธิของลูกตนอย่างเต็มที่ แม้พ่อแม่จะเป็นผู้ให้กำเนิดและเป็นผู้ดูแลเด็ก แต่ใช่ว่าพ่อแม่จะมีสิทธิทำทุกอย่างเกี่ยวกับลูกของตนเอง เพราะเด็กๆ มีสิทธิเป็นของตนเอง มีสิทธิส่วนบุคคล ที่มีกฎหมาย*รับรองและปกป้องคุ้มครองเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ดังนั้นการที่พ่อแม่จะทำสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับลูกหรือเด็กในความดูแล ควรได้รับความยินยอม ได้รับการอนุญาตหรือความยินยอมจากเด็กด้วย หรือให้เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกระทำนั้นๆ ด้วยตนเอง และพ่อแม่ควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเป็นสำคัญ กรณีการโพสต์รูปหรือเรื่องราวของลูกลงบนสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ก็เช่นเดียวกัน
นักเรียนหยุดเรียน…แต่ความปลอดภัยในโรงเรียนหยุดไม่ได้
ปีนี้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย เด็กๆ ส่วนใหญ่เรียนระบบออนไลน์หรือทำงานจากชุดการเรียนที่แต่ละโรงเรียนออกแบบให้กับนักเรียนตามบริบทของแต่ละโรงเรียน แม้เด็กๆ จะหยุดเรียนอยู่บ้าน แต่คุณครูหลายๆ คนในโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนคุ้มครองเด็ก ต้องสลับหมุนเวียนกันเข้ามาปฏิบัติงานในโรงเรียน โดยหนึ่งในเหตุผลที่คุณครูต้องเข้ามาในโรงเรียน คือ เรื่อง “ความปลอดภัย….ในโรงเรียน” โครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจากแหล่งทุนPartage ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันมีเครือข่ายโรงเรียนคุ้มครองเด็ก 132
การรังแกไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
จากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้ยอดของผู้ติดเชื้อมีจำนวนมากขึ้นในทั่วภูมิภาค มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กจึงต้องมีการปรับวิธีการทำงาน จากการลงพื้นที่โรงเรียน และชุมชนต่างๆ เป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ขึ้น ซึ่งหลักสูตรการป้องกันการรังแกกันในโรงเรียน ก็เป็นหนึ่งในหลักสูตรที่มูลนิธิฯได้จัดขึ้น ซึ่งหลายโรงเรียนที่ได้เข้าร่วมอบรมออนไลน์ ก็ได้นำไปต่อยอดทำกิจกรรมกับบุคลากรครู และนักเรียนในโรงเรียนของตนเองในรูปแบบที่ต่างกันออกไป คุณครูมลฤดี คำภาษี คุณครูโรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม จังหวัดอุดรธานี ได้นำไปขยายผลกับโรงเรียน โดยเริ่มจากสร้างความเข้าใจให้บุคลากรครูเข้าใจถึงความหมายและรูปแบบการรังแก วิธีการป้องการรังแกกัน
เสียงสะท้อนจากโรงเรียนคุ้มครองเด็ก กับการช่วยให้เด็กๆปลอดภัย
โรงเรียนบ้านเกาะพลวย เป็นโรงเรียนเล็กๆที่ตั้งอยู่ในหมู่เกาะสมุย ชื่อว่าเกาะพลวย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมด 6 คน นักเรียน 61คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้บริหารสถานศึกษาคือนางสาวจรรยา เจ๊ะเหยง การเดินทางไปโรงเรียนนี้ต้องนั่งเรือโดยสารจากอำเภอดอนสักไปยังเกาะพลวยใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที และเดินทางโดยรถต่อไปอีก
#วิกฤตนี้เราไม่ทิ้งกัน
ท่ามกลางภาวะวิกฤตจากการระบาดของโควิด-19 เด็กและครอบครัวในชุมชนเมืองกรุงเทพมหานครได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก หลายครอบครัวเป็นผู้ติดเชื้อและถูกกักตัว หลายครอบครัวตกงานเนื่องจากสถานประกอบการปิดตัว ขาดรายได้ในการดูแลสมาชิกในครอบครัว ซึ่งครอบครัวที่ได้รับผลกระทบมีรายได้หลักมาจากการรับจ้างรายวันโดยไม่มีความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐแต่อย่างใด โครงการชุมชนคุ้มครองเด็กจึงได้ประสานงานกับคณะทำงานในชุมชนโครงการชุมชนคุ้มครองเด็กสำรวจครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วน มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กได้เปิดรับธารน้ำใจจากภาคธุรกิจและผู้ใหญ่ใจดีในสังคม ทั้งข้าวสาร อาหารแห้ง ของใช้ในครัวเรือน ขนม นมจัดเป็นถุงยังชีพส่งมอบให้กับชุมชน 138 ชุด และ ส่งมอบนม ขนม
ถุงพาเพลิน..ถุงเติมสุขครอบครัว
“ครูขา..ครูขา หนูมีงานทำแล้ว เสียงเจื้อยแจ้วของเด็กหญิงตัวเล็กๆ ตะโกนมาจากหลังต้นไม้” เราจึงหยุดและหันไปมองตามต้นเสียง เจ้าของเสียงเรียกเป็นเด็กหญิงคนหนึ่งที่เคยมาทำกิจกรรมที่บ้านพาเพลิน ของมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก นั่นเอง เด็กหญิงตัวน้อยโชว์ถุงพาเพลิน #เล่นอยู่บ้านต้านโควิด-19 ถุงกิจกรรมที่ได้รับจากมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กพร้อมกับหยิบหนังสือนิทานเรื่องจับกินให้หมด ออกมา พร้อมกับบอกว่า “หนูอ่านจบแล้ว มันทำให้หนูอยากปลูกผัก พร้อมกับหยิบเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ในถุงกิจกรรมออกมาให้เราดู สักพักแม่ของเด็กเดินมาสมทบแล้วชี้ชวนให้เราชมสวนผักสวนครัวของครอบครัวในพื้นที่ขนาดเล็ก คุณแม่ของเด็กน้อยหาภาชนะและวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นภาชนะในการปลูกต้นไม้ที่เป็นสวนผักแนวดิ่ง