บันทึกชีวิตใหม่ ณ บ้านอุ่นรัก (ตอน2)
บันทึกชีวิตใหม่ ณ บ้านอุ่นรัก (ตอน2) บุญนิสา บุญประสพ ข้อมูล ดารารัตน์ เพียรกิจ เรียบเรียงเขียน “วิถีชีวิตใหม่ในบ้านอุ่นรัก” ฉันเดินทางมาบ้านอุ่นรักอีกครั้ง เพราะมีนัดกับพี่ป้อม บุญนิสา บุญประสพ หัวหน้าฝ่ายบำบัดฟื้นฟูเด็กและครอบครัว เพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวการทำงานกับเด็ก ที่มาที่ไปของเด็ก บรรยากาศที่เกิดขึ้นภายในบ้านแต่ละวัน
บันทึกชีวิตใหม่ ณ บ้านอุ่นรัก (ตอน 1)
บันทึกชีวิตใหม่ ณ บ้านอุ่นรัก (ตอน 1) ดารารัตน์ เพียรกิจ ฝ่ายสื่อสารองค์กร ผู้เขียน “แรกพบ” “ครูคับ ผมให้ครูคับ” เสียงเล็กๆของเด็กชายตัวเล็กสุดของบ้าน ดังขึ้นพร้อมกับมือน้อยๆค่อยๆยื่นขนมปังโฮลวีทสองชิ้นในมือมาให้ฉัน นี่เป็นครั้งแรกที่ฉันได้พบกับเด็กคนนี้ เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่เด็กน้อยกลับมีน้ำใจแบ่งปัน
เรื่องเล่าจากพื้นที่ของผู้อำนวยการมูลนิธิฯ
"นมของลูกจะหมด" วันนี้วาสลงพื้นที่ไปเยี่ยมให้ความช่วยเหลือเด็กอายุ 8 เดือนเศษซึ่งพ่อแม่ขาดรายได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ก่อนลงพื้นที่วาสโทรคุยกับบิดาและมารดาของเด็กเพื่อประเมินการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น วาสเตรียมนมของเด็ก ไข่ไก่ ข้าวสารและอาหารแห้งไปให้ครอบครัวนี้ วาสทราบดีว่า นมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก แต่แม่รายนี้ไม่มีน้ำนมให้ลูกแล้วด้วยเหตุผล... วาสพูดคุยกับมารดาโดยดึงประเด็นในแบบคัดกรองเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำ ให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงดูลูกในหลายประเด็น แนะนำช่องทางในการหาข้อมูลเพิ่มเติม และวิธีติดต่อหน่วยงานที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ มารดาเด็กขอบคุณที่วาสมาวันนี้เพราะนมของลูกกำลังจะหมด บิดาของเด็กทำงานรับจ้างก่อสร้างเงินยังไม่ออก ยังไม่รู้ว่าจะออกวันไหน
“ชั้น(ฉัน)ปันสุข”
"ชั้น(ฉัน)ปันสุข" ชั้นหวายขนาดสูง4ชั้น ถูกนำมาวางไว้ที่หน้าสำนักงานของมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ในแต่ละชั้นมีสิ่งของสำหรับบริโภค เช่น ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำชาดำแบบขวด ขนมห่อสำหรับเด็ก นมจืดยูเอชที วางไว้สำหรับแบ่งปันให้กับคนในชุมชนที่ผ่านไปมาในซอยจรัญสนิทวงศ์12 มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ทำหน้าที่เป็นสะพานบุญส่งต่อความปรารถนาดีของผู้ใหญ่ใจดีที่ร่วมกันบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อให้มูลนิธิฯนำไปมอบให้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กและครอบครัวที่ถูกกระทำความรุนแรง ซึ่งได้รับผลกระทบในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อสิ่งของที่ได้รับมีจำนวนมากและเพียงพอต่อการแจกจ่าย ทีมงานจึงนำมาแบ่งปันใส่ชั้นให้กับคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน
หน้ากากอนามัยชิ้นแรกในชีวิตหนู
หน้ากากอนามัยชิ้นแรกในชีวิตหนู ผู้เขียน : สุรีย์พร อำมาตย์มนตรี เจ้าหน้าที่โครงการชุมชนคุ้มครองเด็ก ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) สิ่งที่จำเป็นสำหรับบุคคลทั่วไปคงหนีไม่พ้น หน้ากากอนามัย ซึ่งตามท้องตลาดมีหลากหลายราคาแตกต่างกันตามชนิดของผ้าหรืออุปกรณ์ที่ทำ ในขณะเดียวกันที่ภาครัฐขอความร่วมมือให้ประชาชนทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัย แต่ปริมาณหน้ากากอนามัยสำหรับเด็กขาดแคลนและมีราคาที่สูงมาก ทำให้ครอบครัวที่มีรายได้น้อยยากที่จะเข้าถึง และจากการสำรวจหน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่นหลายพื้นที่ก็ไม่ได้แจกหน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ต้องไปโรงพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วยหรือฉีดวัคซีนตามระยะเวลากำหนด และจากการพูดคุยสอบถามกับผู้ประสานงานในชุมชนทุกพื้นที่ต่างสะท้อนตรงกันถึงความจำเป็นที่เด็กๆ ต้องมีหน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ
กรณีละเมิดทางเพศนักเรียนที่มุกดาหาร
กรณีละเมิดทางเพศนักเรียนที่มุกดาหาร ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา มูลนิธิศานติวัฒนธรรม เชียงใหม่ 27 พฤษภาคม 2563 เหตุการณ์การละเมิดทางเพศต่อนักเรียนที่มุกดาหาร มีคนส่งทั้งภาพและวิดีโอคลิปมาให้ผมดู โดยเป็นภาพนักเรียนหญิงวัยรุ่นสามสี่คน แต่งกายวาบหวิว และวิดีโอที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนหญิงมีส่วนร่วมในการมีเพศสัมพันธ์อย่างชัดเจน นัยยะของการสื่อสารก็คือ ต้องการบอกว่า นักเรียนไม่ดีเอง นักเรียนเป็นฝ่ายเสนอตัวหรือมีความเต็มใจที่จะให้ครูกระทำต่อตนเอง ปัญหาของการมองเฉพาะจุดแบบนี้ก็คือ การไม่เห็นบริบทหรือภาพที่กว้างออกไป
บทเรียนครูข่มขืนเด็กนักเรียน เราจะดูแลเด็กให้ปลอดภัยได้อย่างไร?
บทเรียนจากเหตุการณ์ครู 5 คนที่ล่วงเกินทางเพศเด็กนักเรียน นางทองไพรำ ปุ้ยตระกูล หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเด็กและครอบครัว :ผู้เขียน จากเหตุการณ์ครู 5 คน ล่วงเกินทางเพศเด็กนักเรียนในโรงเรียนของตนเอง เรา...ได้บทเรียนอะไรบ้างจากเหตุการณ์นี้ ? เกิดอะไรขึ้นกับโรงเรียน ที่เด็กนักเรียนถูกล่วงเกินทางเพศมาเป็นปี แต่ไม่มีการช่วยเหลือ ? เกิดอะไรขึ้นกับโรงเรียน