เมื่อผู้ใหญ่คิดว่าเด็กเต็มใจ
เมื่อผู้ใหญ่คิดว่าเด็กเต็มใจ ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา มูลนิธิศานติวัฒนธรรม เชียงใหม่ ไม่กี่วันมานี้มีข่าวเรื่องครูพานักเรียนไปเข้าโรงแรมอีก เกิดขึ้นที่จังหวัดสุรินทร์ ผู้เขียนข่าวได้พาดหัวว่า “ตั้งข้อหาครูอนาจารนักเรียน พรากผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย” รายละเอียดในข่าวยังบอกอีกว่าครูคนนี้มีพฤติกรรมแบบนี้กับนักเรียนอีกหลายคน และผู้อำนวยการโรงเรียนยังพยายามติดต่อผู้ปกครองขอให้ยุติเรื่องเพื่อปกป้องชื่อเสียงของโรงเรียนไม่ให้เสื่อมเสียอีกด้วย ข่าวเรื่องแบบนี้จะมีออกมาเป็นระยะตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ และการจัดการแก้ปัญหาก็จะทำอย่างเดิม คือกระทรวงศึกษาฯ ก็จะลงโทษครูทางวินัย
โพสต์รูปลูกลงโซเชียล แบบไม่ละเมิดสิทธิเด็ก
เรื่องการโพสต์รูปหรือเรื่องราวของลูกบนโซเชียล ที่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันในขณะนี้ สำหรับผู้เขียนคิดว่านับเป็นเรื่องดีที่มีตัวอย่างของพ่อแม่ที่ตระหนักและใส่ใจต่อเรื่องสิทธิของเด็ก และทำหน้าที่ปกป้องสิทธิของลูกตนอย่างเต็มที่ แม้พ่อแม่จะเป็นผู้ให้กำเนิดและเป็นผู้ดูแลเด็ก แต่ใช่ว่าพ่อแม่จะมีสิทธิทำทุกอย่างเกี่ยวกับลูกของตนเอง เพราะเด็กๆ มีสิทธิเป็นของตนเอง มีสิทธิส่วนบุคคล ที่มีกฎหมาย*รับรองและปกป้องคุ้มครองเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ดังนั้นการที่พ่อแม่จะทำสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับลูกหรือเด็กในความดูแล ควรได้รับความยินยอม ได้รับการอนุญาตหรือความยินยอมจากเด็กด้วย หรือให้เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกระทำนั้นๆ ด้วยตนเอง และพ่อแม่ควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเป็นสำคัญ กรณีการโพสต์รูปหรือเรื่องราวของลูกลงบนสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ก็เช่นเดียวกัน
ความปลอดภัยของนักเรียน…เรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย
ความปลอดภัยของนักเรียน...เรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย ผู้เขียน : นางทองไพรำ ปุ้ยตระกูล หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเด็กและครอบครัว จากข่าวคราวที่โรงเรียนแห่งหนึ่งจัดค่ายลูกเสือ และมีการจัดฐานหนึ่งที่ต้องให้นักเรียนลงน้ำ ซึ่งแหล่งน้ำนี้มีความลึกของระดับน้ำ 3 เมตร โดยมีนักเรียนคนหนึ่งว่ายน้ำไม่เป็น และได้หายไปในช่วงที่อยู่ในค่าย จนกระทั่งเมื่อผู้ปกครองไม่พบลูกหลังจบค่ายจึงออกตามหา สุดท้ายพบว่าเด็กจมน้ำเสียชีวิตในแหล่งน้ำตรงบริเวณนี้ กระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริงคงกำลังดำเนินไป แต่ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นเช่นไร เราทุกคนควรจะเรียนรู้จากเรื่องราวนี้ โดยเฉพาะโรงเรียน
กรณีละเมิดทางเพศนักเรียนที่มุกดาหาร
กรณีละเมิดทางเพศนักเรียนที่มุกดาหาร ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา มูลนิธิศานติวัฒนธรรม เชียงใหม่ 27 พฤษภาคม 2563 เหตุการณ์การละเมิดทางเพศต่อนักเรียนที่มุกดาหาร มีคนส่งทั้งภาพและวิดีโอคลิปมาให้ผมดู โดยเป็นภาพนักเรียนหญิงวัยรุ่นสามสี่คน แต่งกายวาบหวิว และวิดีโอที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนหญิงมีส่วนร่วมในการมีเพศสัมพันธ์อย่างชัดเจน นัยยะของการสื่อสารก็คือ ต้องการบอกว่า นักเรียนไม่ดีเอง นักเรียนเป็นฝ่ายเสนอตัวหรือมีความเต็มใจที่จะให้ครูกระทำต่อตนเอง ปัญหาของการมองเฉพาะจุดแบบนี้ก็คือ การไม่เห็นบริบทหรือภาพที่กว้างออกไป
บทเรียนครูข่มขืนเด็กนักเรียน เราจะดูแลเด็กให้ปลอดภัยได้อย่างไร?
บทเรียนจากเหตุการณ์ครู 5 คนที่ล่วงเกินทางเพศเด็กนักเรียน นางทองไพรำ ปุ้ยตระกูล หัวหน้าฝ่ายพัฒนาเด็กและครอบครัว :ผู้เขียน จากเหตุการณ์ครู 5 คน ล่วงเกินทางเพศเด็กนักเรียนในโรงเรียนของตนเอง เรา...ได้บทเรียนอะไรบ้างจากเหตุการณ์นี้ ? เกิดอะไรขึ้นกับโรงเรียน ที่เด็กนักเรียนถูกล่วงเกินทางเพศมาเป็นปี แต่ไม่มีการช่วยเหลือ ? เกิดอะไรขึ้นกับโรงเรียน
#ห่างกันแต่ใจไม่ห่างไกล
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 หรือ โควิด-19 ส่งผลให้หลายๆคนต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต ทำงานจากที่บ้าน เด็กๆหยุดอยู่บ้าน กิจการร้านค้าบางแห่งปิดทำการชั่วคราว หลายคนไม่สามารถเดินทางกลับบ้านไปหาคนรัก หาสมาชิกในครอบครัวได้ จึงต้องสื่อสารกันผ่านสื่อออนไลน์ ด้วยความห่วงใย มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ได้จัดทำการ์ดสื่อสาร ชุด "ห่างกันแต่ใจไม่ห่างไกล" เพื่อให้ทุกคนสามารถดาวน์โหลดแล้วส่งต่อไปให้กับคนในครอบครัว เพื่อแสดงความรักและความห่วงใย ที่ถึงแม้ตัวจะไม่ได้อยู่ใกล้กัน แต่ความรัก
#สงกรานต์ผิดแผก
เทศกาลสงกรานต์มาถึงแล้ว นอกจากภาพการเข้าวัดทำบุญ การเดินทางกลับบ้านไปอยู่กับครอบครัว รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ที่แสดงถึงความรักและความอบอุ่นในครอบครัว แต่สงกรานต์ในทุกวันนี้ผิดแผกไปจากเดิมมากนัก ภาพที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆ กลับเหมือนเทศกาลปลดปล่อย