“การสร้างวินัยเชิงบวก เริ่มจากตนเอง เพราะไม่สามารถจะไปควบคุมปัจจัยต่างหรือลดความรุนแรงได้ ต้องลดจากตนเอง   ส่วนที่เกี่ยวข้องกับตนเอง คือ ครูกับนักเรียน เราต้องไม่ใช้ความรุนแรงกับครู กับเด็ก เมื่อครูไม่ได้รับการปฏิบัติด้วยรุนแรง ครูก็จะไม่ไปใช้ความรุนแรงกับเด็ก  มีความคิดว่าเป็นผลกระทบที่ต่อเนื่องกัน เมื่อเราได้รับอะไรมาเราก็ถ่ายทอดสิ่งนั้นไป เช่นเดียวกัน เด็ก ถ้าเราจะแก้ไขปัญหาสังคม เด็กซึ่งจะเป็นอนาคตของสังคม ถ้าเค้าได้รับความรุนแรง สังคมก็มีความรุนแรงแน่นอน ต้องแก้ไขปัญหาตรงนี้ โดยการเริ่มวินัยเชิงบวก สังคมก็จะไม่เกิดความรุนแรงในอนาคต  การลดความรุนแรง ไม่สามารถเห็นผลได้โดยเร็วในทีเดียว ถ้าเราไม่เริ่มจะไม่มีการลด

หัวใจในการสร้างวินัยเชิงบวก  ก็คือ หัวใจจริงๆ เริ่มจากตัวเรา ให้ความรู้กับครู ครูต้องไปเปลี่ยนทัศนคติของตนเอง สมัยก่อนคิดว่าไม้เรียวสร้างคน ตามรอยไม้เรียว รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี เป็นความเข้าใจพื้นๆว่าจะต้องใช้ดัดพฤติกรรม จะต้องถ่ายทอดออกไปด้วยความเข้าใจที่ไขว้เขว  ทุกคนทุกฝ่ายอยากที่จะให้สังคมดี แต่ยังไม่มีวิธีการที่ถูกต้อง ถ้าเราสามารถเปลี่ยนทัศนคติของครู ของคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้ความรุนแรงเหล่านี้ จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้ “

จากจุดเริ่มต้นที่เห็นถึงสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กในสังคม รวมทั้งเด็กนักเรียนในโรงเรียน ในชุมชน  ซึ่งส่งผลกระทบต่อทางร่างกายและจิตใจของผู้ถูกกระทำ ทำให้นายวรรษะ วงศ์ศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว สพป.เชียงใหม่เขต3 หนึ่งในเครือข่ายโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก เกิดความตระหนักและค้นหาวิธีการป้องกันเพื่อช่วยเหลือให้เด็กๆหลุดพ้นจากวงจรของความรุนแรง   ผู้อำนวยการโรงเรียนฯจึงหาวิธีการด้วยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ จนได้พบวิธีการลดความรุนแรงด้วยการใช้ “วินัยเชิงบวก” ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเอง ของครู ผู้ปกครองและตัวเด็ก  ต้องใช้เวลาและความอดทน จนทำให้สถานการณ์ความรุนแรงในโรงเรียนลดน้อยลง

25